Biz and Tech Podcasts > Business > China Talk Podcast
By The Pimkwan's Podcast
Last Episode Date: 25 February 2024
Total Episodes: 49
EP49 China Internet Landscape and Digital Giants Part 44 EP นี้จะเล่าเรื่อง Uber 优步 เริ่มบุกตลาดจีน และเข้ามาทำการแข่งขันกับ Didi Kuaidi จนสุดท้าย Uber จะสิ้นสุดอย่างไรในจีน เมื่อเดือนเมษายน 2013 โดยเริ่มจากการทำการศึกษาทางการตลาด 市场考察 เหมือนกับหลายๆบริษัทที่จะเริ่มบุกตลาดใด ก็ต้องทำ market feasibility และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการพอดีในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 เปิดตัวสู่ตลาด อย่างเป็นทางการ โดยให้บริการในลักษณะรถบ้าน หรือ Private Car ในจดหมายภายในที่เขียนถึงนักลงทุน Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber กล่าวว่า ในเดือนธันวาคม 2014 (หรือเกือบหนึ่งปีเต็มหลังการเข้าดำเนินงานที่จีนอย่างเต็มตัว) มีผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ Uber 1 ล้านเที่ยวต่อวันในจีน นั่นเป็นปริมาณการเดินทางต่อวันมากกว่าการใช้งานจากตลาดทั้งหมดทั่วโลกรวมกันเสียอีก นอกจาก การดำเนินงานในแต่ละวัน การจัดการกับกลการฉ้อโกงของคนขับรถ การต้องจัดการกับนโยบายท้องถิ่นใน Uber ยังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง Didi Dache และ Kuaidi Dache สองเจ้าตลาดที่เอาง่ายๆว่า เป็นเสมือนมาเฟียสองค่ายใหญ่ Uber เติบโตอย่างไร รับมืออย่างไร และเรื่องราวจะจบแบบไหน รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 49
EP48 China Internet Landscape and Digital Giants Part 43 EP นี้เป็นการเล่าเรื่องของ Didi Kuaidi ภายหลังการควบรวมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 เชิงกลยุทธ์อย่างเป็นทางการ ว่าเป็นอย่างไร และรวมถึง การเข้ามาของ Uber ด้วย หมดช่วงความวุ่นวายของการแต่งงานแบบคลุมถุงชนแล้ว ในเดือนพฤษภาคม 2015 Didi Kuaidi ก็เร่งแข่งขันกับสตาร์ทอัพรายอื่นๆอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น Yidao Yongche (易到用车) และ Uber (优步) ซึ่งก็มี Baidu เป็นนักลงทุนอีกด้วย โดยบริษัท DiDi ยังได้เพิ่ม feature เพื่อเสริมฟังก์ชันการเรียกแท็กซี่ขั้นพื้นฐานอื่นๆด้วย เช่น บริการรถพรีเมียมใหม่ ฟังก์ชั่นสำหรับผู้โดยสารที่มีความพิการ DiDi Express ซึ่งเป็นบริการเรียกรถส่วนตัว รุ่นราคาประหยัด Didi Bus เพิ่มขึ้นด้วย 9 กันยายน 2015 DiDi Kuaidi (滴滴快的) รีแบรนด์เป็น DiDi Chuxing (滴滴出行) อย่างที่เราคุ้นชื่อกันในปัจจุบันเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างแพลตฟอร์มการขนส่งเคลื่อนที่แบบครบวงจรแบบครบวงจร และก็เปิดตัว logo ใหม่เอี่ยม จาก Logo เดิมที่เป็นรูปรถ Taxi เลย ก็เป็นอักษรตัว D สีส้ม ซึ่งเป็นสีเดิมของแบรนด์ แต่เปลี่ยนทิศทางการวางตัว D แบบคว่ำลง รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 48
EP47 China Internet Landscape and Digital Giants Part 42 EP นี้เป็นการเล่าเรื่องของ การควบรวมกันระหว่าง Kuaidi Dache:KD (快的打车)and Didi Dache: DD (滴滴打车) และวิเคราะห์ถึงเหตุผลเบื้องลึกเบื้องหลัง ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์สากล Kuaidi Dache (快的打车) ที่หนุนหลังโดย Alibaba และ Didi Dache (滴滴打车) ที่หนุนหลังโดย Tencent ประกาศการควบรวมกิจการเชิงกลยุทธ์อย่างเป็นทางการ ถ้าเปรียบเทียบคือประกาศแต่งงานคลุมถุงชนแบบสายฟ้าแลบ จากคู่แข่งที่แข่งกันดุเดือด ก็มารวมเข้าด้วยกัน เป็น Didi Kuaidi ในที่สุด หลายคนได้ตั้งคำถามและสงสัยว่าทำไมถึงเลือกที่จะควบรวมกันแทนที่จะแข่งกันต่อไป ก็มีหลายเสียงจากนักวิเคราะห์ในวงการออกมาวิเคราะห์ถึงเหตุผลว่า อาทิ นักลงทุนรายใหญ่อย่าง Alibaba, Tencent เริ่มสูญเสียความเชื่อมั่นในธุรกิจนี้ หรือ ทั้งคู่กำลังเผชิญกับแรงกดดันด้านการแข่งขันที่รุนแรงเกินไป หรือเป็นเพราะ Tencent และ Alibabaบรรลุเป้าหมายหลักแล้ว คือการแนะนำให้รู้จักกับ WeChat Pay และ Alipay Wallet แก่ผู้ใช้งานอย่างกว้างขวาง จำนวนผู้ใช้งานเพื่อการชำระเงินก็เพิ่มขึ้นอย่างมากอีกด้วย ผลิตภัณฑ์APPเรียกแท็กซี่จึงเป็นผลพลอยได้เท่านั้น ดังนั้นหากการแข่งขันด้านการชำระเงินค่อยๆ เปลี่ยนทิศทางไป บทบาทของซอฟต์แวร์เรียกแท็กซี่ก็จำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเช่นเดียวกันค่ะ รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 47
EP46 China Internet Landscape and Digital Giants Part 41 Didi มีชื่อเดิมว่า Didi Dache 嘀嘀打车โดยคำว่า 嘀嘀แปลว่า Beep Beep DiDi Taxi เป็น application เรียกรถที่พัฒนาโดยบริษัท Xiaoju Technology Co Ltd. ในกรุงปักกิ่ง โดยนาย Cheng Wei 程维Chéng wéi แอปพลิเคชั่น DiDi Taxi ออกสู่ตลาดในเดือน กันยายน 2012 Didi และ Kuaidi ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีน Tencent Holdings Ltd และ Alibaba Group Holding Ltd ตามลำดับ ทั้งสองต่างติดอยู่ในสงครามราคา สงครามเงินอุดหนุน การเผาเงินที่แข่งขันกันอย่างดุเดือนในปีที่ผ่านมา เนื่องจากแต่ละฝ่ายพยายามที่จะเจาะตลาดจีนขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ ไม่ดีต่อนักลงทุนสักฝ่ายสำหรับทั้งสองบริษัท เพื่อชิงส่วนแบ่งการตลาด จากข้อมูลล่าสุดในปีนั้น DiDi กินส่วนแบ่งประมาณ 55% ของตลาดจีน ส่วน Kuaidi ควบคุมส่วนที่เหลืออีกเกือบ 45% รายอื่นๆรวมกันก็แทบไม่ถึง 1% และสุดท้ายก็มาถึงเวลาที่สำคัญที่สุดในวงการ Ride-Hailing ของจีนคือ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2015 ตรงกับวันวาเลนไทน์ Kuaidi Dache ที่หนุนหลังโดย Alibaba และ Didi Dache หนุนหลังโดย Tencent ประกาศการควบรวมกิจการเชิงกลยุทธ ถ้าเปรียบเทียบคือประกาศแต่งงานคลุมถุงชนแบบสายฟ้าแลบ จากคู่แข่งที่แข่งกันดุเดือด ก็มารวมเข้าด้วยกัน เป็น Didi Kuaidi ในที่สุด รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 46
EP45 China Internet Landscape and Digital Giants Part 40 เมื่อพูดถึงบริษัทเรียกรถหรือ ride-hailing หลาย ๆ คนคงได้ยินชื่อหรือรู้จัก Didi 滴滴 หรือชื่อเต็มๆว่า 滴滴出行 Didi Chuxing บริษัทเทคโนโลยีเรียกรถที่ใหญ่อันหนึ่งในจีน ชื่อเดิมของ Didi Cuxing 滴滴出行คือ 嘀嘀打车 Didi Dache ที่ภายหลังได้รวมตัวกับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง快的打车Kuaidi Dache จนสุดท้ายก็ได้กลายเป็น 滴滴出行ต้องบอกว่า เรื่องราวของ Didi ก่อนจะมีวันนี้ได้ไม่ธรรมดาเพราะต้องผ่านการต่อสู้ฟาดฟันทั้งกับบริษัทคู่แข่งสัญชาติต่างชาติอย่าง Uber และคู่แข่งจากสัญชาติเดียวกัน จนนำมาสู่การควบรวม ถือเป็น case study ที่สนุกมาก ดังนั้น EP นี้ จะเริ่มเล่าเรื่องจาก 快的打车 Kuaidi Dache (KD) รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 45
EP44 China Internet Landscape and Digital Giants Part 39 Bytedance (字节跳动) ก่อตั้งขึ้นโดยนาย Zhang Yiming 张一鸣 ในเดือนมีนาคมปี 2012 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปักกิ่ง เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีรายแรก ๆ ในยุคนั้น ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผสานเข้ากับ Mobile Internet Zhang Yiming เริ่มศึกษาด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์(microelectronics) ในปี 2001 ก่อนที่จะเปลี่ยนสาขาวิชาเอกเป็นวิศวกรรมซอฟต์แวร์ และสำเร็จการศึกษาในปี 2005 จากมหาวิทยาลัย Nankai 南开大学 เมืองเทียนจิน หลังจากจบการศึกษา Zhang Yiming ก็ได้เริ่มงานในสตาร์ทอัพชื่อว่า 酷讯(Kuxun) ที่แห่งนี้ได้ช่วยให้เขาได้เรียนรู้ทักษะอันมีค่าซึ่งได้สร้างรากฐานให้กับบริษัทของเขาเองในอนาคต วิสัยทัศน์ของเขาที่มีต่อบริษัทไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในจีนเช่นเดียวกับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เขาวางแผนที่จะขยายบริษัทไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ผู้ร่วมทุนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นค่านักกับวิสัยทัศน์นี้ แม้จะมีความพยายามหลายครั้ง แต่เขาล้มเหลวในการหาทุนจนกระทั่ง SIG เห็นศักยภาพของโครงการและเริ่มลงทุนใน series A ช่วงเดือน July 2012 ด้วยเงินลงทุนจำนวน $1m ระบบการกระจายข้อมูลอัจฉริยะ (Intelligent distribution of content) ให้"ผู้ใช้นับล้าน" เพื่อตอบสนองความต้องการในการอ่านของยุค Mobile Internet ที่เน้นอ่านแบบผิวเผิน users มักจะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนอ่าน และการอ่านมีหน้าที่เพียงแค่เป็นการฆ่าเวลา ดังนั้น feature จะเป็นแบบ "ข้อมูลหาคน" มากกว่า คนเข้าหาข้อมูล ปี 2014 , 2 ปีหลังจากการก่อตั้ง Toutiao ผู้ใช้งานแบบรายวัน (DAUs) มีสูงกว่า 13 million users แล้ว รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 44
EP43 China Internet Landscape and Digital Giants Part 38 Kuaishou (HKD: 1024) ถือเป็นคู่แข่งคนสำคัญของ Douyin เพราะปัจจุบันมี Monthly Active Users ทั่วโลกรวม 769 ล้านบัญชี และคิดเป็น Daily Active Users หรือผู้ใช้งานบัญชีรายวัน 305 ล้านบัญชี แต่ละคนเฉลี่ยแล้วใช้เวลาเล่นประมาณ 86 นาที ที่สำคัญความฮอตฮิตไม่ได้มีแค่ในจีนแต่ Kuaishou ยังขึ้นอันดับ 1 ในรายชื่อดาวน์โหลดสูงสุดของ Google Play และ Apple App Store ใน 8 ประเทศในปี 2020 และก็ได้ IPO ไปเมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2021 โดยระดมทุนไปได้ 41.28 billion HK dollars ($5.32 billion)จนถึง มิถุนายน 2022 Kuaishou Technology ก็มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market cap) อยู่ที่ 45,040 ล้าน USD Kuaishou ก่อตั้งในเดือน มีนาคม ปี 2011 ร่วมก่อตั้งโดย นาย Cheng Yixiao (程一笑) และ นาย Su Hua (宿华) ช่วงแรกของ Kuaishou ไม่ได้มีหน้าตาเป็น short-video platform อย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนะคะ ชื่อเดิมของ Kuaishou เรียกว่า "GIF Kuaishou" เป็นแอพพลิเคชั่นเครื่องมือ (Tool工具) สำหรับสร้างและแบ่งปันภาพ GIF (Graphic Interchange Forma) แต่ตุลาคม 2013 บริษัทก็ค่อยๆเปลี่ยนแปลงขึ้นมาจนกลายมาเป็น Short-video platform ที่ให้users อัพโหลดวิดีโอหรือคลิปสั้นๆ แชร์สู่สังคมออนไลน์ ถือว่าเป็น pioneer ในอุตสาหกรรมวิดีโอสั้นในจีน มาก่อน Douyin (Tiktok) เลยก็ว่าได้ สิ่งที่น่าสนใจมากๆคือ Kuaishou ใช้ Gini-Coefficient ในการควบคุมระบบนิเวศน์ในสังคมออนไลน์ของ Kuaishou เพื่อหลีกเลี่ยงช่องว่างที่มากเกินไประหว่างContent creator คนรวยกับคนจน รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 43
EP42 China Internet Landscape and Digital Giants Part 37 บริษัท Xiaomi ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2010 ที่กรุงปักกิ่ง โดยนาย Lei Jun (雷军 Léi Jūn) ในขณะที่เขามีอายุ 40 ปี พร้อมกับผู้ร่วมก่อตั้งอีก 6 รายที่มาด้วยประสบการณ์และคุณวุฒิ ก่อน Lei Jun ก่อตั้ง Xiaomi นั้น ในปี 1992 Lei Jun ร่วมงานกับ Kingsoft ในฐานะวิศวกรบริษัท เมื่ออายุ 22 ปี และก้าวกระโดดมาเป็น CEO ของบริษัทในปี 1998 ด้วยวัยเพียง 28 ปี เท่านั้น วันที่ 6 เมษายน 2010 กลุ่มผู้ก่อตั้งได้เริ่มสร้างตำนานการผลิตโทรศัพท์ในประวัติศาสตร์จีน พวกเขาซึ่งกำลังทาน 小米粥 โจ๊กข้าวฟ่าง ด้วยกันที่ตึกหยินกู่ จงกวนชุน และประวัติศาสตร์ก็บันทึงเรื่องราวการก่อตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการและก็นำชื่อ Xiaomi มาตั้งเป็นชื่อบริษัทอีกด้วย Xiaomi แปลตรงตัวก็คือ Millet ข้าวฟ่าง แต่เหนือกว่านั้นคือ Lei Jun ต้องการเชื่อมโยงกับหลักการของศาสนาพุทธที่ว่า "ข้าวเมล็ดเดียวยิ่งใหญ่เท่าภูเขา" สื่อว่า Xiaomi ต้องการทำงานจากสิ่งเล็กน้อย แทนที่จะเริ่มต้นด้วยการดิ้นรนเพื่อความสมบูรณ์แบบ ชื่อ MI ยังบ่งบอกถึงความตั้งใจในการเป็นบริษัท internet เพราะ "mi" (米) เป็นตัวย่อสำหรับ Mobile Internet และ Mission Impossible ซึ่งหมายถึงอุปสรรคที่พบในการเริ่มต้นบริษัท บริการด้านอินเตอร์เน็ตเป็นภาคส่วนที่Xiaomi ให้ความสนใจ และยังย้ำว่า Xiaomi เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีสมาร์ทโฟนและฮาร์ดแวร์อัจฉริยะเชื่อมต่อกันด้วยแพลตฟอร์ม IoT เป็นแกนหลัก หลายคนอาจจะแย้งว่า รายได้ส่วนใหญ่มาจาก smartphone และ gadgets จะเป็นบริษัท internet ได้อย่างไร แต่Xiaomiก็โต้กลับว่าอัตรากำไรขั้นต้น (GP) สำหรับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ ในปี 2019 อยู่ที่ 7.2% และ 11.2% ตามลำดับเท่านั้น ในขณะเดียวกัน บริการอินเทอร์เน็ตมีอัตรากำไร 64.7% รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 42
EP41 China Internet Landscape and Digital Giants Part 36 · แพลตฟอร์ม Bilibili นี้ก่อตั้งโดยนาย Xu Yi( 徐逸 Xú Yì สู อี้) ผู้เป็นแฟนการ์ตูนแอนิเมชันตัวยงโดยเฉพาะ Hatsune Miku ฮัตสึเนะ มิกุ (การ์ตูนนักร้องหญิงในโปรแกรมสังเคราะห์เสียงร้องเพลงชื่อดังใน Vocaloid 2) · ในสมัยนั้นมี platform วิดีโอที่เป็น bullet comment ที่รายแรกของจีนที่เป็นแหล่งรวมของการ์ตูนแอนิเมชั่นต่างๆ ชื่อว่า Acfun (ที่เป็นชื่อย่อของ Anime, Comics and Fun) 爱稀饭网Ài xīfàn wǎng หรือสมาชิกจะเรียกกันว่า A 站 ( A Site หรือ สถานที A) ที่ก่อตั้งมาในปี 2006 แต่ด้วยความที่ AcFun มีปัญหาทางเทคนิค เซอร์เวอร์ล่มอยู่บ่อยครั้ง นาย Xu Yi ซึ่งเป็น user ตัวยงอยู่แล้ว ก็รู้สึกหงุดหงิดใจมากเลยตัดสินใจสร้างแพลตฟอร์มวิดีโอ bullet comment ที่ดีกว่า A-Site ด้วยตัวเองเสียเลย โดยตั้งชื่อว่า mikufans ในวันที่ 26 มิถุนายน 2009 ในขณะที่นาย Xu มีเพียงอายุแค่ 20 ปีเท่านั้น! · แพลตฟอร์มก็พัฒนาและวิวัฒนาการเรื่อยมา จนกันยายน 2011 นาย Xu Yi ก็สร้าง Startup ใช้ชื่อว่า Hangzhou Huandian Technology 杭州幻电科技有限公司 ขึ้นเพื่อบริหารธุรกิจแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์ที่มีฟีเจอร์เป็น bullet comment อันเป็นเอกลักษณ์นี้อย่างจริงจัง · รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ ใน EP 41
EP40 China Internet Landscape and Digital Giants Part 35 • 12 มีนาคม 2012 เป็นเวลาที่สำคัญสำหรับวงการแพลตฟอร์มวิดีโอ เมื่ออดีตคู่ปรับ Youku และ Tudou ได้บรรลุข้อตกลงในการควบรวมกิจการ โดยมีชื่อนิติบุคคลใหม่นี้มีชื่อว่า Youku Tudou Inc. และการควบรวมนี้ก็ได้สร้างเว็บไซต์แพลตฟอร์มวิดีโอที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนเลยในยุคนั้นไปโดยปริยาย • เมื่อสองกลายเป็นหนึ่ง ในปี 2014 YouKu Tudou มี Active users มากกว่า 500 ล้านบัญชี และมีการรับชมในแต่ละวันมากกว่า 800 ล้าน views • ไตรมาสที่3 ปี 2014 Youku Tudou เป็นเจ้าตลาด ครอง Market Share ไปได้ถึง 22.82% แซง iQiyi ที่ครองอันดับสองคือ 19.07% และ Sohu TV 11.87% Tencent TV 10.67% • อันดับหนึ่งกับอันดับสองสูสีกันอย่างมาก ดังนั้นการครองตลาดของ Youku Tudou ในจีนเริ่มที่จะสั่นคลอนโดยการท้าทายจาก iQiyi ของ Baidu โดยเห็นชัดมากยิ่งขึ้นปีต่อมา • พฤษภาคม 2014 อาลีบาบาและกองทุน Yunfeng (云峰) เข้าซื้อหุ้นสามัญคลาส A (Class A ordinary shares) ของ Youku Tudou จำนวน 721 ล้านหุ้นเป็นมูลค่า 1,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน Youku Tudou โดยอาลีบาบาถือหุ้น 16.5% (ลงไปประมาณ 1,100 ล้าน USD)และกองทุนหยุนเฟิงถือหุ้น 2% (ลงไป 132 ล้าน USD) รวมทั้งสิ้น 18.5% • 6 พฤศจิกายน 2015 อาลีบาบากรุ๊ปได้เข้าซื้อกิจการ Youku Tudou Group ทั้งหมด และกลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของอาลีบาบาในที่สุด • ในท้ายที่สุดอุตสาหกรรม online video media and entertainment จีนในยุคนี้ก็เห็นความชัดเจนมากขึ้นว่าถูกขับเคลื่อนจากสามค่ายยักษ์ใหญ่อย่างTencent, Alibaba, Baidu นั่นเอง • รายละเอียดทั้งหมดติดตามรับฟังได้ใน EP 40
Discover new partners and
collaboration opportunities —right in your inbox.
Get notified about new partnerships